เมนู

9. จาตุทิสสูตร


ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปทั้ง 4 ทิศ


[109] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้
ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง 8 ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้
สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรม
ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง 1 เป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ 1
เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาณ 4 อันมีใน
จิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน 1 ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย
ธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง 4.
จบจาตุทิสสูตรที่ 9

อรรถกถาจาตุทิสสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในจาตุทิสสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จาตุทฺทิโส ได้แก่ ไปไหนไม่ขัดข้องในทิศทั้ง 4 แม้ใน
สูตรนี้ ก็ตรัสเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้น.
จบอรรถกถาจาตุทิสสูตรที่ 9

10. อรัญญสูตร


ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด


[110] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการ
ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ธรรม 5 ประการ
เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวม
ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมี
ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่ง
สุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด
ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง 1 เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม
ทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย 1 เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4